วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

การวางแผนกลยุทธ์

การวางแผนกลยุทธ์
ภารกิจ ( mission )
              ภารกิจของเพจวังสะพุงออนไลน์ เพจนี้จะเป็นเพจที่บอกเล่าสถาที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม ประเพณี เทศกาล อาหารการกิน ชีวิตและความเป็นอยู่ของชาววังสะพุงและจังหวัดเลย

โครงสร้างของบริษัท ( company profile )
               ชื่อบริษัท : วังสะพุงออนไลน์
                ปีที่ก่อตั้ง : ปี 2016 
                ช่องทางการเข้าถึง : เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ และบล็อกของวังสะพุงออนไลน์
                ลักษณะของกิจการ : เป็นเพจที่มีผู้ดูแลเพียงคนเดียวที่คอยจัดการคัดกรองดูแล
ข้อมูลข่าวสารก่อนที่จะแผยแพร่ภายในเพจ

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
จุดแข็ง
- เพจของเราจะมีการนำเสนอที่น่าสนใจมีทั้งภาพและวิดีโอ
- ทางเพจมีการอัพเดตข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
- สามารถที่จะโต้ตอบกับูกเพจได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
-ทันเหตุการณ์
จุดอ่อน
- เป็นเพจที่ยังำม่ค่อยมีคนรู้จัก
-การอัพดตยังคงล่าช้าเพราะไม่ได้อยู่ในพื้นที่
- ไม่มีการโฆษณาที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้า
โอกาส
- โอกาสที่เพจจะเป็นที่รู้จักได้อย่างแพร่หลาย
- ประชาสัมพันธ์และโปรโมทข่าวสารในอำเภอวังสะพุงและในจังหวัด
อุปสรรค
- การเข้าถึงสื่อมวลชนในอำเภอวังสะพุงยังคงมีน้อย
- ประชาชนในพื้นที่เลือกที่จะฟังข่าวสารในวิทยุ และโทรทัศน์มากกว่าสื่อที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพราะต้นทุนสูง
- คนในพื้นที่มักติดตามข่าวสารได้ยากจะเชื่อเฉพาะเพจที่คุ้นเคยและมีมานาน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อต้องการแพร่กระจายข่าวสารให้เป็นที่รู้จักและคนในพื้นที่ได้ติดตามข่าวสาทันเหตุการณ์
2. เพื่ออนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยว อาหารการกิน และวัฒนธรรมของอำเภอวังสะพุง และจังหวัดเลย
3. ส่งเสริมให้คนในพื้นที่รักบ้านเกิดและนำทัศนะออกมาแสดงหรือสถานที่แปลกใหม่ที่น่าสนใจ

แผน ( plane )
         ภายในระยะเวลา 2 เดือน ทางเพจวังสะพุงออนไลน์จะให้ลูกเพจหรือประชาชนทั่วไปสามารถที่จะมาโพสต์ภาพหรือโพสต์สถานที่ที่ประทับใจในวังสะพุงหรือจังหวัดเลยได้ หรืออาจจะมาแนะนำให้ทางเพจโปรโมทร้าน และสาารถพูดคุยโต้ตอบแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับแอดมิน

นโยบาย ( policies ) 
            นโยบายของเพจวังสะพุงออนไลน์คือใส่ใจในข้อมูลข่าวสารและลูกเพจ มุ่งเน้นที่จะนำเสนอข่าวสารเรื่องราวเกี่ยวกับอำเภอวังสะพุงและจังหวัดเลย

การปฎิบัติตามแผนกลยุทธ์ ( straegy implementation )
- เตรียมการวางแผนโปรโมทเพจให้เป็นที่รู้จัก 
- ประชาสัมพันธ์ให้สามารถที่จะมาโพสต์ภาพ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

อ่างเก็บน้ำห้วยลิ้นควาย (เขื่อนภูหลาว)
ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านแสงเจริญ หมู่ที่ 4 ตำบลนาด้วง ห่างจากอำเภอนาด้วง 5 กม.เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีทิวเขาและชายหาดที่สวยงาม เหมาะแก่การชมดวงอาทิตย์ขึ้นช่วงรับอรุณ ตลอดจนการพักแรม ตกปลา ออกกำลังกาย
2.น้ำตกตาดโตน (ธารน้ำตกท่าสวรรค์)
ตั้งอยู่ริมถนนสายท่าสะอาด – ท่าสวรรค์ เขตหมู่ที่ 4 ต.ท่าสวรรค์ น้ำตกตาดโตน อยู่ในลำห้วยน้ำสวย ลักษณะธารน้ำตกเป็นเกาะแก่งโขดหินสูงต่ำเกิดชั้นที่แตกต่างสลับกับต้นไม้กลางลำน้ำมองเห็นรากไม้ที่คดเคี้ยวสวยงามตามธรรมชาติ


วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย

1.วนอุทยานห้วยเลา
แยกจากถนนสาย 201 ก่อนถึงอำเภอวังสะพุงประมาณ 5 กม. ไปตามถนนสาย 2250 อีกประมาณ 27 กิโลเมตร น้ำตกห้วยเลาเป็นน้ำตกหินปูนที่สวย
งาม ไหลออกมาจากถ้ำน้ำลอดและไหลลงมาสู่เชิงเขาเป็นระยะทาง 800 เมตร มี 9 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นมีความสวยงามมาก มีน้ำตกไหลตลอดปี


2.วนอุทยานภูหอ
อยู่ห่างจากแยกเข้าวนอุทยานน้ำตกห้วยเลาอีกประมาณ 7 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปถึงยอดภู ซึ่งเป็นทุ่งหญ้า ลมแรงมาก ไม่มีที่พักค้างคืน 


3.อุทยานพญาช้าง - นางผมหอม
ตำนานพญาช้าง-นางผมหอม เป็นความศรัทธาและความเชื่อถือของราษฎรในพื้นที่ อ.ภูหลวง จ.เลย ที่เล่าขานสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันและด้วยความเชื่อว่าวิญญาณของพญาช้าง-นางผมหอม และ บริวาร ยังคงสถิตอยู่บริเวณภูหอ และสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพญาช้าง-นางผมหอม เช่น ภูหอ ห้วยหอม แม่น้ำเลยภูหม้อ เมืองเซไล ปัจจุบันมีรูปปั้นพญาช้าง - นางผมหอมตั้งอยู่วัดโนนสว่าง บ้านหนองบัว ต.ภูหอ ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอ.ภูหลวง ให้ความเคารพสักการบูชา


4.โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำเลย
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาวางโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำเลย เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรในลุ่มน้ำเลยใช้ทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งและมีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ตลอดปี โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2557 รวมระยะเวลา 3 ปี  โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ อ่างเก็บน้ำแห่งนี้จะสามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 35.29 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ราษฎรในพื้นที่ ต.แก่งศรีภูมิ ต.หนองคัน ต.ภูหอ อ.ภูหลวง และต.ทรายขาว ต.วังสะพุง และ ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง รวมจำนวน 10,228 ครัวเรือน ประชากร 47,721 คนได้มีน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคตลอดทั้งปี และมีพื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ประมาณ 59,600 ไร่

5.จุดชมวิววัดดอยสวรรค์
จุดชมวิววัดดอยสวรรค์  ตั้งอยู่ที่บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ 6  ต.หนองคัน  อ.ภูหลวง เป็นแหล่งท่องเเที่ยวใหม่ แวะชมวิววัดดอยสวรรค์ได้ เส้นทางไปสวนหินผางามเส้นทาง อ.ภูหลวง หรือ เส้นทางไปหล่มสักแวะไหว้พระชมวิว

 ข้อมูลและรูปภาพเว็บไซต์มาจาก : http://www.loei.go.th
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 มีนาคม 2016 เวลา 15:54 น.
 

เทศกาลและประเพณีที่สำคัญของจังหวัดเลย

งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน


งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน
จัดขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย ช่วงเดือน 8 หากปีใดเป็นอธิกมาสก็จะเลื่อนไปเดือน 8 หลังมีกาแห่ผีตาโขนในงานบุญหลวง ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่น
การละเล่นผีตาโขน ในวันแรกจะมีพิธีแห่พระอุปคุตจากลำน้ำหมันมาที่วัดโพนชัย วันที่สองมีการแห่เข้าเมือง และผู้เล่นจะนำเครื่องผีตาโขนไปโยนทิ้งแม่น้ำหมัน
จากนั้นเวลค่ำจะมีการเทศน์มหาชาติถึง 13 กัณฑ์

งานประเพณีแห่ต้นดอกไม้ อำเภอนาแห้ว

งานประเพณีแห่ต้นดอกไม้ อำเภอนาแห้ว การแห่ต้นดอกไม้ชาวตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว ที่มีความสูง 4 - 5 เมตร มีมานานแล้วกว่า 100 ปีที่ผ่านมา
จัดขึ้นที่วัดศรีโพธิ์ชัย เป็นการบูชาพระรัตนตรัยในวันขึ้นปีใหม่ของไทยจัดในช่วงสงกรานต์ของทุกปี การแห่ต้นดอกไม้จะแห่ตอนกลางคืน 

งานไม้ดอกเมืองหนาว อำเภอภูเรือ
เทศกาลทะเลหมอก ดอกไม้งาม บานสะพรั่งทั้งภูเรือ (งานไม้ดอกเมืองหนาว อำเภอภูเรือ) ในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ประมาณวันที่ 31 ธันวาคม - 3 มกราคม ของทุกปี มีการออกร้านแสดงไม้เมืองหนาว ขบวนแห่รถบุปผชาติ การประกวดไม้ดอก ไม้ประดับเมืองหนาวงานราตรีแม่คะนิ้ง ลีลาศโต้ลมหนาวและการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรของอำเภอภูเรือ

งานนมัสการพระธาตุศรีสองรัก

เป็นงานประจำปีจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี เพื่อสมโภชองค์พระธาตุศรีสองรักอันเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง ภายในงานมีพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เช่น การบูชาองค์พระธาตุด้วยต้นผึ้งใหญ่ ต้นผึ้งน้อย การล้างองค์พระธาตุพระธาตุศรีสองรัก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัด 83กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 203แล้วแยกขวาตรกิโลเมตรที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กิโลเมตร ถึงอำเภอด่านซ้ายจากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กิโลเมตรพระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงลักษณะศิลปกรรมแบบล้านช้าง องค์พระธาตุสูง 19.19
เมตร  ฐานกว้างด้านละ 10.89 เมตร ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมไม้สิบสอง องค์ระฆังทรง "บัวเหลี่ยม" คล้ายพระธาตุพนม พระธาตุหลวง(เวียงจันทน์) พระธาตุศรีโคตรบอง(แขวงคำม่วน) และอีกมากมายแถบลุ่มน้ำโขง พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นถวายเป็นอุเทสิกเจดีย์(หมายถึงเจดีย์สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศ
ให้พระศาสนาโดยไม่กำหนดว่าต้องเก็บรักษาสิ่งใด) สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2103 เสร็จในปีพ.ศ.2106 พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยาน ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระมหาจักรพรรดิ)และกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช นอกจากนี้ภาย ในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ชาวด่านซ้ายหรือ "ลูกผึ้งลูกเทียน" จะร่วมกันจัดงานสมโภชพระธาตุศรีสองรักขึ้นโดยจะนำต้นผึ้ง (ประดิษฐ์จากโครงไม้ไผ่เป็นทรงหอปราสาทขนาดกว้างราว 2 ฟุต สูง 2 ฟุตเศษ  กรุรอบด้วยลวดลายงานแทงหยวกจากนั้นประดับด้วย "ดอกผึ้ง" ซึ่งทำจากแผ่นเทียนกลมๆ บางๆ ตากแดดแล้วจับเป็นกลีบ ตรงกลางติดดอกบานไม่รู้โรย หรือขมิ้นหั่นเล็กๆ ต่างเกสรดอกไม้สีสดใส) เทียนเวียนหัว
(เทียนแท่งที่ฟั่นยาวพอคาดได้รอบศีรษะ) มาถวายองค์พระธาตุถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับองค์พระธาตุศรีสองรัก คือ ไม่ควรนำสิ่งของหรือดอกไม้สีแดงขึ้นบูชา ไม่ควรแต่งกายด้วยชุดสีแดงขึ้นไปนมัสการ เพราะองค์พระธาตุสร้างขึ้นเพื่อสัจจะและไมตรี สีแดงเป็นสัญญลักษณ์ของเลือดและความรุนแรง ไม่ควรกางร่มสวมหมวกและสวมรองเท้าขึ้นไปบนพระธาตุ ไม่ควรนำเด็กต่ำกว่า 3 ปีขึ้นไปนมัสการ (หมายเหตุ : ก่อนท่านจะทำหรือประกอบพิธีใดๆ ที่เกี่ยวกับองค์พระธาตุขอให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าองค์พระธาตุก่อน)

งานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย

จัดขึ้นบริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย ประมาณวันที่ 1 - 9 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ในงานจะมีขบวนแห่จากอำเภอต่างๆ การแสดงศิลปวัฒนธรรม

ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.loei.go.th

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

ที่พักและอาหารในวังสะพุง


Accommodation and Food in wang sa phung
ที่พักในอำเภอวังสะพุง

วังสะพุง เป็นหนึ่งในพื้นที่ใกล้เคียงของ เลย ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม ย่านอันเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมายให้ค้นหาของเมืองนี้จะทำให้คุณประหลาดใจได้ไม่สิ้นสุด วังสะพุง เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่มีชีวิตชีวา ร้านอาหารดีๆ มากมาย แหล่งช็อปปิ้ง และสถานที่ท่องเที่ยวอันน่าทึ่ง 

พัชลีพร รีสอร์ต (Patchareeporn Resort) 

มีสวนน้ำให้เล่นอย่างชุ่มฉ่ำ

ทีพักสวยๆ

สวนลำไยรีสอร์ท Suan Lamyai Resort



ร้านอาหารอร่อยอำเภอวังสะพุง
1.ก๋วยเตี๋ยวนิด (NIT NOODLE)  ก๊วยเตี๋ยวน้ำตกหมูเนื้อรสเลิศ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตกหมูเนื้อรสเลิศ ที่ผ่านเมืองวังสะพุงเมื่อไรจำเป็นต้องแวะทุกครั้ง เมืองนี้ไม่ได้มีดีแค่ขายล๊อตเตอรี่  แต่ก๋วยเตี๋ยวที่นี่ ล้ำเลิศจริง ทั้งรสชาติที่แทบไม่ต้องยกเครืองปรุง พริกสูตรเด็ด พร้อมผักนานาชนิด ในราคาไม่เกินครึ่งร้อย 


2.ร้านอาหารหน้าวัง (NA WANG RESTAURANT) ร้านอาหารร้านแรกที่คุณจะเจอเมื่อเลี้ยวมาที่ อ.วังสะพุง จังหวัดเลย เป็นร้านที่คนในพื้นที่แนะนำบอกต่อ 




3. ร้านขนมจีนยายน้อย (KHANOM CHIN YAI NOI RESTAURANT)  ร้านอยู่ติดๆกับโรงเรียนบ้านวังสะพุง จากสี่แยกไฟแดงสถานีตำรวจไปทางอ.ภูหลวง มี3น้ำ น้ำพริก น้ำยา น้ำสมุนไพร เสิร์ฟพร้อมผักสด ผักลวก หมดขอเพิ่มได้ไม่มีเหนียว


















ประวัติอำเภอวังสะพุง

อำเภอวังสะพุง


ประวัติ
ท้องที่อำเภอวังสะพุงเดิมแบ่งการปกครองออกเป็น 2 แขวงโดยยึดถือลำน้ำปวนเป็นเส้นแบ่งเขต (มีฐานะเป็นตำบลในปัจจุบัน) ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปวนขึ้นอยู่กับเมืองหล่มสัก (ปัจจุบันคืออำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์) ของฝั่งตะวันออกของลำน้ำปวนขึ้นอยู่กับเมืองกมุทธาไสย (ปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู) ต่อมาปรากฏว่าแขวงทั้งสองมีพลเมืองหนาแน่นขึ้นจึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอมีชื่อว่า อำเภอวังสะพุง เมื่อปี พ.ศ. 2440 โดยให้อยู่ในความปกครองของเมืองหล่มสัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ได้มีการจัดแบ่งเขตการปกครองใหม่ อำเภอวังสะพุง จึงถูกโอนมาขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 จนถึงปัจจุบัน
ต่อมาท้องที่บางแห่งในเขตอำเภอวังสะพุงได้แบ่งแยกออกไปเป็นอำเภอดังต่อไปนี้
อำเภอภูกระดึง แยกเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2505 และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
อำเภอภูหลวง แยกเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 และยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
อำเภอเอราวัณ แยกเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 และยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550
สำหรับอำเภอภูกระดึงต่อมาได้แบ่งท้องที่บางส่วนเป็นอำเภอผาขาว โดยตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 และแบ่งท้องที่บางส่วนเป็นอำเภอหนองหิน โดยตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550 สรุปแล้วอำเภอวังสะพุงเดิมมีท้องที่ครอบคลุมถึง 6 อำเภอของจังหวัดเลยในปัจจุบัน
ภูมิศาสตร์
สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาและที่ราบสูง โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตกมีทิวเขาภูหลวงทอดยาวตลอดแนว เป็นต้น กำเนิดแหล่งน้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำเลย แม่น้ำทบ แม่น้ำฮวย ส่วนทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก เป็นที่ราบสูงสลับเตี้ย มีแม่น้ำปวนไหลผ่านแล้วไปบรรจบกับแม่น้ำเลย
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง มีพื้นที่ราบลุ่มเพียงเล็กน้อย สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 200-500 เมตร ทำให้ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน
ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม มีฝนตกชุกพอประมาณ
ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนกุมภาพันธ์อากาศ ตอนกลางวันจะไม่เย็นจัด ส่วนกลางคืนเย็นจัด
การปกครองส่วนภูมิภาค
วังสะพุง (Wang Saphung)                  ผาน้อย (Pha Noi)
ทรายขาว (Sai Khao)                           ผาบิ้ง (Pha Bing)
หนองหญ้าปล้อง  (Nong Ya Plong)   เขาหลวง (Khao Luang)
หนองงิ้ว (Nong Ngio)                         โคกขมิ้น (Khok Khamin)
ปากปวน (Pak Puan)                           ศรีสงคราม (Si Songkhram)


ภูเรือ จังหวัดเลย

อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออ...