วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ภูเรือ จังหวัดเลย

อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย
อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือมีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูงเป็นภูผาสีสันสะดุดตาหินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “กว้านสมอ” โดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตร
ในปี พ.ศ. 2519 อธิบดีกรมป่าไม้ เดินทางมาราชการที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง นายสุจินต์ เพชรดี ปลัดจังหวัดเลย ได้ให้ความเห็นว่า ควรส่งเสริมป่าภูเรือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด จากนั้นจังหวัดเลยจึงให้ทางอำเภอภูเรือสำรวจพื้นที่ป่าภูเรือ ซึ่งอำเภอภูเรือได้รายงานถึงจังหวัดเลยว่า พื้นที่ป่าภูเรือมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามสำคัญหลายแห่ง เช่น ป่าไม้ น้ำตก ทิวทัศน์ เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นของป่าภูเรือ ท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ปรากฏว่า ป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าหมายเลข 23 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ให้รักษาไว้ให้เป็นป่าถาวรของชาติ
พื้นที่ป่าภูเรือประกอบด้วยทิวเขาสูง สลับซับซ้อนเรียงรายเป็นรูปต่างๆ น่าพิศวงสลับกับที่ราบเป็นบางส่วน สาเหตุที่ขนานนามว่า “ภูเรือ” เพราะมีภูเขาลูกหนึ่งมีชะโงกผายื่นออกมาดูคล้ายสำเภาใหญ่ และที่ราบบนยอดเขามีลักษณะคล้ายท้องเรือตลอดจนมีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลอาฮี ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ และตำบลลาดค่าง ตำบลหนองบัว ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2522 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 16 ของประเทศ
ภูเรือ มีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันอย่างสวยงาม ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนเขา โดยเฉพาะยอดภูเรือ ประกอบด้วยป่าสนเขา สลับกับสวนหินธรรมชาติแซมด้วยพุ่มไม้เตี้ย สลับด้วยทุ่งหญ้าเป็นระยะ ไม้พื้นล่างที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กุหลาบป่า มอส เฟิน และกล้วยไม้ที่สวยงาม เช่น ม้าวิ่ง สามปอย ไอยเรศ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องเงิน ซึ่งขึ้นตามต้นไม้และโขดหิน กล้วยไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งให้ชมสลับกันไปตลอดทั้งปี 
นอกจากนี้ ป่าภูเรือยังมีสัตว์ป่าที่ชุกชุมพอสมควร ที่พบบ่อย เช่น หมี เก้ง กวางป่า หมูป่า หมาไน ลิง พญากระรอกดำ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ป่า และชุกชุมไปด้วยกระต่ายป่า เต่าเดือย เต่าปูลูและนกชนิดต่างๆ ที่สวยงามอีกมากมาย โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะอพยพมาจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก
 ด้วยอุทยานแห่งชาติภูเรืออยู่ที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศไทย และอยู่บนยอดเขาสูง จึงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “แม่คะนิ้ง” ผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น








บ้านนาป่าหนาดหมู่บ้านไทดำเชียงคาน

ประวัติความเป็นมาไทยทรงดำบ้านนาป่าหนาด 
อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ชาวไทยดำอยู่ที่เมืองแถงหรือแถน แต่เดิมเป็นเมืองใหญ่ของแคว้นสิบสองจุไท ปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟู อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว (แคว้นล้านช้าง) ทิศเหนือติดกับตอนใต้ของประเทศจีน สิบสองจุไท ” 
กลุ่มชนชาวไทดำ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท ดังกล่าวไว้ในพงศาวดารเมืองไลว่า “ เมืองที่พวกผู้ไทดำอยู่นั้น คือเมืองแถงหนึ่ง เมืองควายหนึ่ง เมืองตุงหนึ่ง เมืองม่วยหนึ่ง เมืองลาหนึ่ง เมืองโมะหนึ่ง เมืองหวัดหนึ่ง เมืองซางหนึ่ง รวมเป็น 8 เมือง เมืองผู้ไทขาว 4 เมือง ผู้ไทดำ 8 เมืองเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่าเมืองสิบสองผู้ไท แต่บัดนี้เรียก
เขตสิบสองจุไท บริเวณลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง ในเวียดนามภาคเหนือ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของ ไทดำ ไทแดง และไทขาว เมื่อ ฝรั่งเศสเข้าปกครองเวียดนาม ได้เรียกชนเผ่าที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำดำว่า ไทดำที่เรียกว่าไทดำ เพราะชนดังกล่าวนิยมสวมเสื้อผ้าสีดำซึ่งย้อมด้วยต้นห้อมหรือคราม แตกต่างกับชนเผ่าที่อยู่ใกล้เคียง
การอพยพและการตั้งรกรากในไทย ชาวไทดำอพยพเข้ามาตั้งรกรากในไทยถึง 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีที่โปรดให้ไปตี เมืองเวียงจันทร์ได้ในปี พ.ศ. 2321 ดังได้กล่าวไว้ในประวัติชาติไทยว่า "แล้วปีรุ่งขึ้นโปรด ฯ ให้ยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง ไปตีเมืองทัน เมืองม่วย เมืองทั้ง 2 นี้เป็นเมืองของไทซ่งดำ ตั้งอยู่ในเขตแดนญวนเหนือ แล้วพาครัวไทเวียง ไทดำ ลงมากรุงธนบุรี ในเดือนยี่ ไทซ่งดำให้ไปอยู่เพชรบุรี " ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2378 ก็ได้นำครอบครัวชาวไทดำเข้ามาอยู่ในไทยอีก ดังบันทึกของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีกล่าวไว้ เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปปราบฮ่อในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2430 ไว้ว่า “ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาธรรมา ฯ ยกกองทัพขึ้นมาเมืองถึงเมืองแถง จัดราชการเรียบร้อยแล้วได้เอาครัวเมืองแถงและสิบสองจุไทซึ่งเป็นไทดำลงมากรุงเทพ ฯ เป็นอันมาก เพราะขืนไว้จะเกิดการยุ่งยากแก่ทางราชการขึ้นอีกครั้ง แล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้พวกไทดำเหล่านั้น ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ เมืองเพชรบุรี จนได้ชื่อว่า ลาวซ่ง จากหลักฐานการอพยพเข้ามาในไทยทั้งสองครั้ง แสดงให้เห็นว่าไทดำหรือไทยทรงดำ มาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรกและจากคำบอกเล่าจากชาวไทยทรงดำเอง ก็บรรยายว่า เดินอพยพมาจากถิ่นฐานเดิมโดยทางเรือ มาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม ซึ่งเป็นบ้านชายทะเล ชาวไทยทรงดำไม่ชอบภูมิประเทศแถบนั้น จึงได้ย้ายถิ่นฐานมาเรื่อย ๆ จนถึงแถบอำเภอเขาย้อย ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นป่าเขาเหมือนกับถิ่นฐานเดิมจึงได้ตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น ต่อมาชาวไทยทรงดำก็ได้ย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินในที่อื่นๆ เช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
แต่ชาวไทยทรงดำในจังหวัดต่าง ๆ เหล่านั้นจะบอกที่มาเป็นแหล่งเดียวกันว่า มาจากจังหวัดเพชรบุรี
ความหมายของคำว่า"ไต" คือกลุ่มชาติพันธุ์คนไทยสาขาหนึ่งที่มีความเป็นอิสระ คำว่า "ดำ" หมายถึงการแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่มสีดำ ชื่อเรียกขานในนาม "ไทยดำ" จึงมีความหมายโดยรวม ว่ากลุ่มชาติพันธุ์คนไทยสาขาหนึ่งในบรรดาหลายชนเผ่า ที่แต่งกายด้วยสีดำนั่นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยดำด้วย ไทยดำได้ถูกอพยพเข้าสู่ดินแดนของประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ใน พ.ศ.2322 เมื่อกองทัพไทยไปตีเวียงจันทน์ แล้วกวาดต้อนไทยดำที่อพยพมาจากสิบสองจุไท ส่งไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี
ต่อมาได้กวาดต้อนเข้ามาเพิ่มเติมอีก ในสมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ.2335 และสมัยรัชกาลที่ 3 ใน พ.ศ.2381 ก่อนจะย้ายมาตั้งถิ่นฐานบริเวณหนองปรงในปัจจุบัน และถือว่าแผ่นดินหนองปรงนี้ คือบ้านเกิดเมืองนอนของชาวไทยดำ มีการสืบเชื้อสายมาหลายชั่วอายุคนจนถึงปัจจุบัน และได้กระจายกันอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี พิจิตร พิษณุโลก กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
ในสปป.ลาว ไทดำได้อพยพเข้าสู่หลวงน้ำทาในปี พศ.2438 เพราะเกิดศึกสงครามแย่งชิงอำนาจกันระหว่างบรรดาหัวหน้าของไทดำกลุ่มต่าง ๆ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในหลวงน้ำทาที่บ้านปุ่งบ้านทุ่งดี บ้านทุ่งอ้ม บ้านน้ำแง้นและบ้านทุ่งใจใต้ ต่อมาเกิดความไม่สงบในสิบสองจุไทขึ้นอีก เนื่องจากศึกฮ่อซึ่งเป็นพวกกบฏใต้เผงที่ถูกทางการจีนปราบปรามแตกหนีเข้ามาปล้นสะดม และก่อกวนอยู่ในเขตสิบสองจุไท ทำให้ชนเผ่าไทดำอพยพจากเมืองสะกบและเมืองวา แขวงไลเจา เข้าตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปุ่งบ้านนาลือและบ้านใหม่ ในปี พ.ศ.2439 เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงได้กระจายกันออกไปตั้งหมู่บ้านอยู่ทั่วเขตทุ่งราบหลวงน้ำทา ของสปป.ลาว 
ชาวไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง ซึ่งมีบรรพบุรุษและถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่เดียนเบียนฟู ประเทศเวียตนาม ย้ายเข้ามาตั้งถิ่น ฐานในแถบเมืองเพชรบุรี เป็นที่แรกในประเทศไทย เมื่อกว่า 200 ปีมาแล้ว กลุ่มที่ย้ายมาอยู่ในเมืองไทยนี้เป็นกลุ่มที่อาศัย อยู่ในประเทศลาว คนไทยแต่ไหนแต่ไรมาจึงเรียกชนกลุ่มนี้โดยใช้คำนำหน้าว่า “ชาวลาว” ซึ่งที่มาของชื่อชนกลุ่มนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บ้างก็ว่ามาจาก “ไทสง” อันเป็นภาษาในสิบสองจุไท หมายถึงคนที่อาศัย ตามป่าเขา ต่อมาเพี้ยนเป็น ไทยโซ่ง แต่บ้างก็ว่าน่าจะเป็น ซ่วง ซึ่งมาจากคำว่า “ซ่วงก้อม” อันเป็นคำเรียกกางเกงผู้ชาย (มีลักษณะขายาวแคบ สีดำ) จึงเรียกกันว่า “ลาวซ่วงดำ” หรือ “ลาวโซ่ง” ภายหลังด้วยเหตุผลทางการปกครอง จึงเรียกว่า “ไทยโซ่ง” หรือ “ไทยซ่วงดำ” และ “ไทยทรงดำ




วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ภูป่าเปาะ ฟูจิเมืองเลย

ภูป่าเปาะ นั้นมาจากภูเขาที่มีป่าไผ่เปาะ ไผ่เปาะ เป็นไผ่ชนิดหนึ่งที่ขึ้นได้ทั่วไปตามภูเขายังสามารถพบได้ทุกๆ อำเภอ ของจังหวัดเลย ลักษณะของ ไผ่เปาะนั้น เป็นไผ่ที่เปาะแตกหักง่าย และนี่คือที่มาของคำว่า ภูป่าเปาะ

ส่วนที่เป็นจุดเด่น และเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ก็คือ การได้ขึ้นไปชมบรรยากาศ และมองเห็นยอดของ ภูหอ

ภูหอ” มีลักษณะเป็นภูเขาสูงปลายยอดตัดราบบนภู ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับภูเขาไฟฟูจิยามา ที่ประเทศญี่ปุ่น จึงเรียกกันว่า “ฟูจิเมืองเลย” ภูหอ เป็นภูเขาที่มีลักษณะเด่นอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น และยังเป็นสัญลักษณ์ของ ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวงอีกด้วย เพราะภูหอลูกนี้ตั้งอยู่ในเขต ตำบลหอภู อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
สถานที่ตั้งของ ภูป่าเปาะ ฟูจิเมืองเลย
ภูป่าเปาะ ตั้งอยู่ที่บ้านผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย 
ส่วนจุดชมวิวของ ภูป่าเปาะ นั้น จะมีทั้งหมด 4 จุด ซึ่งแต่ละจุดจะห่างกันประมาณ 200 เมตร ส่วนจุดยอดบนสุดสามารถมองเห็นวิวได้ 360 องศา คือสามารถมองภูเขาได้รอบทิศทาง



ภูเรือ จังหวัดเลย

อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออ...